คลิ๊กเพื่อชมแผนที่มุมมองถนน

 

สรุปผลการดำเนินการจัดซื้อจัดจ้าง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 ประจำเดือน พฤษภาคม

สรุปผลการดำเนินการจัดซื้อจัดจ้าง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566  ประจำเดือน  พฤษภาคม

Attachments:
Download this file (CCF07072566_0001.pdf)CCF07072566_0001.pdf[ ]1282 Kb

ประกาศผลผู้ชนะการจัดซื้อจัดจ้างหรือผู้ได้รับการคัดเลือกประจำไตรมาสที่3 เดือน เมษษยน ถึง มิถุนายน 2566

ประกาศผลผู้ชนะการจัดซื้อจัดจ้างหรือผู้ได้รับการคัดเลือกประจำไตรมาสที่3 เดือน เมษษยน ถึง มิถุนายน 2566

Attachments:
Download this file (ไตรมาส3.pdf)ไตรมาส3.pdf[ ]1278 Kb

บัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุขององค์การบริหารส่วนตำบลนาโคก ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ที่มาลงทะเบียนประจำเดือน มิถุนายน 2566

บัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุขององค์การบริหารส่วนตำบลนาโคก ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ที่มาลงทะเบียนประจำเดือน มิถุนายน 2566

วิธีสังเกตุอาการโรคไข้เลือดออก

อาการไข้เลือดออก

โดยปกติแล้วเราจะสามารถแบ่งอาการของไข้เลือดออกได้เป็น 3 ระยะ ดังนี้

1.ระยะแรก

สำหรับระยะแรกนี้เป็นระยะที่ผู้ป่วยจะมีไข้สูงประมาณ 5-7 วัน โดยอาจจะมีอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ มีผื่นหรือจุดแดงตามร่างกาย แขน ขา บางรายอาจจะเบื่ออาหาร และมีอาการคลื่นไส้ อาเจียนร่วมด้วย

2.ระยะวิกฤต

ระยะนี้เป็นระยะที่ต้องระวังมากที่สุด ผู้ป่วยจะมีอาการเพลียและซึม ปัสสาวะออกน้อย มีอาการปวดท้องโดยเฉพาะบริเวณชายโครงขวา รวมถึงมีเลือดออกผิดปกติ เช่น เลือดกำเดาไหล อาเจียนเป็นเลือด หรืออุจจาระเป็นสีดำ ในระยะนี้ไข้จะเริ่มลดลง มือเท้าเย็น ความดันโลหิตต่ำ และอาจทำให้เกิดอาการช็อกจนเสียชีวิตได้ 

3.ระยะฟื้นตัว

ในระยะนี้เป็นระยะที่คนไข้เริ่มมีอาการดีขึ้น ความดันโลหิตเริ่มกลับมาคงที่ ปัสสาวะออกมาขึ้น เริ่มกลับมามีความอยากอาหารมากขึ้น อาการปวดท้อง ท้องอืดลดลง และรู้สึกมีเรี่ยวแรงมากขึ้น โดยระยะเวลาทั้งหมดของไข้เลือดออกนั้นจะอยู่ที่ประมาณ 7-10 วัน

 

วิธีป้องกันไข้เลือดออก

เนื่องจากยังไม่มีวัคซีนที่สามารถรักษาอาการไข้เลือดได้โดยตรง เพราะฉะนั้นวิธีที่ดีที่สุดก็คือ การป้องกันตัวเองไม่ให้ได้รับเชื้อไวรัสเดงกี หรืออีกนัยหนึ่งก็คือการป้องกันตัวเองไม่ให้ถูกยุงลายกัดนั่นเอง ซึ่งเราสามารถป้องกันได้ดังนี้

1. ป้องกันตัวเอง

  • สวมเสื้อผ้าที่มิดชิด
  • นอนในห้องที่มีมุ้งหรือมุ้งลวดเพื่อป้องกันไม่ให้ถูกยุงกัด
  • ใช้ยาทากันยุงชนิดทาผิว

2. กำจัดแหล่งพาหะ

  • ภาชนะเก็บน้ำต้องมีฝาปิดเสมอ
  • เปลี่ยนน้ำในแจกัน หรือกระถางทุก 7 วัน
  • ฉีดพ่นสารเคมีหรือยากันยุงเพื่อกำจัดยุงลายเต็มวัย

3. วัคซีนป้องกันไข้เลือดออก

สำหรับการฉีดวัคซีนป้องกันไข้เลือดออกนี้แนะนำให้ฉีดในรายที่เคยเป็นไข้เลือดออกแล้วเพื่อป้องกันไม่ให้เป็นซ้ำ ซึ่งจะลดความรุนแรงและได้ผลดีกว่า

 

มือ เท้า ปาก มีวิธีการรักษาและแก้ไขอย่างไร

โรคมือ เท้า ปาก มีวิธีการรักษา และป้องกันอย่างไร?

โดยทั่วไปแล้ว อาการโรค มือ เท้า ปาก จะค่อยๆ ดีขึ้นตามลำดับ โดยแพทย์จะดูแลรักษาตามอาการ เช่น การให้รับประทานยาแก้ไข้ ในรายที่เพลียมากแพทย์อาจให้นอนรักษาตัวในโรงพยาบาลและให้น้ำเกลือทางหลอดเลือด ร่วมกับให้ยาลดไข้แก้ปวด ยารักษาแผลในปาก และให้ยาปฏิชีวนะในกรณีที่จำเป็น ร่วมกับการเฝ้าระวังสังเกตอาการของภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง

อย่างที่ทราบกันว่าโรคมือ เท้า ปาก ติดต่อได้ผ่านการรับเชื้อไวรัสจากทางเดินอาหาร น้ำมูก น้ำลาย และจากการหายใจเอาเชื้อที่แพร่จากผู้ป่วยเข้าไป คุณพ่อคุณแม่ควรดูแลสุขอนามัยให้กับเด็กๆ

  • สวมหน้ากากอนามัยทุกครั้งเมื่อออกจากบ้าน
  • สอนวิธีการล้างมือที่ถูกต้อง ให้เด็กๆ ล้างมือให้สะอาด ด้วยสบู่ หรือเจลแอลกอฮอล์
  • ทำความสะอาดของเล่น
  • ดูแลความสะอาดของน้ำดื่มและอาหาร
  • หลีกเลี่ยงการใช้สิ่งของร่วมกับผู้อื่น เช่น แก้วน้ำ
  • ไม่พาเด็กไปในสถานที่แออัด เช่น สนามเด็กเล่น ห้างสรรพสินค้า โดยเฉพาะในช่วงที่มีการระบาดของโรค
  • หากเด็กที่ป่วยเป็นโรคมือ เท้า ปาก ควรหยุดเรียน และพักรักษาให้หายป่วยเสียก่อน เพื่อป้องกันไม่ให้ไปแพร่เชื้อยังเด็กคนอื่นๆ และผู้ปกครองต้องรีบแจ้งให้ทางโรงเรียนทราบ และที่สำคัญต้องหมั่นสังเกตอาการของบุตรหลาน หากพบว่ามีอาการผิดปกติ ควรพาเด็กมาพบแพทย์โดยเร็ว

บทความ อื่นๆ ...

Thai Arabic Chinese (Traditional) English French German Japanese Korean Vietnamese

 


























































QR Code
อบต.นาโคก

 
ลิขสิทธิ์ © 2557 - 2565 องค์การบริหารส่วนตำบลนาโคก จังหวัดสมุทรสาคร สงวนไว้ซึ่งสิทธิทั้งหมด.
องค์การบริหารส่วนตำบลนาโคก อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร โทร 034-886122-4